ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย เปิดตัวผู้บริหารคนใหม่ กำหนดทิศทาง “เทคโนโลยีช่วยพัฒนาชีวิตผู้คนให้ดีขึ้น”

0 views

กรุงเทพฯ 12 มีนาคม 2556—วันนี้ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ตอกย้ำถึงพันธสัญญาในการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีสู่ประเทศไทย ภายใต้วิสัยทัศน์ของบริษัท “We Make 70 Million Lives Better”  โดยในงานแถลงข่าวครั้งนี้ นายฮาเรซ คูบจันดานิ กรรมการผู้จัดการคนใหม่  ได้เน้นถึงแนวคิดที่เป็นหัวใจหลักของไมโครซอฟท์ที่ว่า “เทคโนโลยีนั้นสามารถเปลี่ยนโลกและเปลี่ยนชีวิตผู้คนให้ดีขึ้นได้”

นายฮาเรซ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการคนใหม่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา เป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยประสบการณ์  โดยได้ร่วมงานกับไมโครซอฟท์มาเป็นเวลานานกว่า 15 ปี  โดยก่อนหน้านี้ นายฮาเรซ เคยดำรงตำแหน่งประธานฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศอินโดนีเซีย โดยเขาสามารถสร้างการเติบโตให้กับไมโครซอฟท์ อินโดนีเซีย สูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์

ในงานแถลงข่าว นายฮาเรซ  ได้ตอกย้ำถึงชื่อเสียงของไมโครซอฟท์ในฐานะองค์กรที่เด็ดเดี่ยวและกล้าเผชิญกับความท้าทายที่ยากลำบากเพื่อที่จะนำเทคโนโลยีมาสู่ผู้คนในวงกว้าง  “ด้วยความเชื่ออย่างแรงกล้าที่ว่าเทคโนโลยีสามารถเปลี่ยนโลกและช่วยพัฒนาชีวิตของผู้คน ทำให้ไมโครซอฟท์ทำในสิ่งที่ทำอยู่ขณะนี้  เป็นระยะกว่า 20 ปี ในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ที่ไมโครซอฟท์ได้ร่วมมือกับหลากหลายพันธมิตร  ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ คู่ค้า ลูกค้า เอ็นจีโอ และองค์กรต่างๆ มุ่งมั่นที่จะนำสิ่งที่ดีสู่สังคมไทย ภายใต้วิสัยทัศน์  “We Make 70 Million Lives Better”  โดยเน้นให้ความรู้ถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีและการเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อสร้างโอกาสที่ดีกว่า” นายฮาเรซกล่าว

“ไมโครซอฟท์ ไม่ได้มีแต่ความเชื่อในการสร้างโอกาสให้กับผู้คนไม่ว่าจะเป็นพนักงานของเราหรือคนในสังคม แนวคิด “people-centric” ของไมโครซอฟท์ยังได้หยั่งรากลึก ตั้งแต่ยุคของการปฏิวัติการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยเทคโนโลยีจะต้องถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้อย่างดีที่สุดโดยไม่มีข้อแม้ สำหรับไมโครซอฟท์แล้วคอมพิวเตอร์ล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “ส่วนบุคคล”  ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรก ไปจนถึงอุปกรณ์ไอทีที่ทันสมัยบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8  หรือมือถือบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โฟน 8   โดยในวันนี้ แนวคิดของไมโครซอฟท์ได้ขยายจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มาสู่เว็บ สู่โลกของอุปกรณ์ และคลาวด์ คอมพิวติ้ง”

นอกจากนี้ นายฮาเรซ ยังได้ย้ำถึงความมุ่งมั่นของไมโครซอฟท์ที่มีต่อพันธมิตรคู่ค้า ว่า “แนวคิด partner-centric เป็นสิ่งที่ไมโครซอฟท์ยึดถือตั้งแต่เราเริ่มทำธุรกิจ  ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกำหนดความสำเร็จของเราในยุคของคอมพิวเตอร์พีซี และสร้างความแตกต่างให้กับเราในวันนี้ เมื่อเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคอุปกรณ์และบริการ (Devices and Services Era) ไมโครซอฟท์ได้ให้การสนับสนุนพันธมิตรและระบบอีโคซิสเต็มในประเทศไทยในการขยายธุรกิจให้กว้างมากขึ้น  ด้วยโปรแกรมการฝึกอบรมและบริการอย่างไม่เคยมีมาก่อน”

advertisements

ทั่วโลก ไมโครซอฟท์ ได้ทำงานร่วมกับบริษัทพันธมิตรมากกว่า 640,000 ราย ซึ่งพวกเขาได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือและแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างของไมโครซอฟท์ พัฒนาธุรกิจจนประสบความสำเร็จ เครือข่ายพันธมิตรคู่ค้าของไมโครซอฟท์ในประเทศไทย (Microsoft Partner Network) มีจำนวน  1,140  ราย จาก ผลการศึกษาล่าสุด พบว่าทุก 1 เหรียญสหรัฐที่ไมโครซอฟท์สร้างรายได้  ไมโครซอฟท์สามารถช่วยให้พันธมิตรของเรานำไปสร้างรายได้ต่อได้มากกว่า 8 เหรียญสหรัฐ

นายฮาเรซ ได้กล่าวถึงการที่ไมโครซอฟท์กำลังก้าวเข้าสู่บริษัทที่ให้บริการสำหรับอุปกรณ์และด้านบริการ (devices and services) ว่า “ปัจจุบันผู้คนทั่วโลกเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น มีการเคลื่อนที่ และพวกเขารู้ว่าเทคโนโลยีสามารถสร้างผลกระทบที่ดีให้กับพวกเขาได้อย่างไรบ้าง  ผู้คนเหล่านี้จะติดต่อและเชื่อมโยงถึงกันด้วยอุปกรณ์และบริการรูปแบบใหม่  จะเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ที่เข้าไปอยู่ในอุปกรณ์และบริการต่างๆ ทั้งในตลาดผู้บริโภคและกลุ่มองค์กรธุรกิจ  ไมโครซอฟท์ได้ให้ความสำคัญกับอุปกรณ์และบริการ (devices and services) โดยมีซอฟต์แวร์รองรับมากขึ้น โดยแนวคิดนี้ได้ขยายไปยังกลุ่มผู้บริโภคและบริการด้านธุรกิจ  ด้วยเหตุนี้ เราจึงลงทุนมหาศาลไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ สร้างและเปิดโอกาสให้กับนักพัฒนาหน้าใหม่ รวมถึงพัฒนาโซลูชั่นสำหรับอุปกรณ์ที่หลากหลายที่เชื่อมต่อกับคลาวด์คอมพิวติ้ง”

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะตอกย้ำความแข็งแกร่งในฐานะพันธมิตรที่มีความน่าเชื่อถือ (Trusted Partner) ที่ทำงานร่วมกับภาคธุรกิจ ชุมชน และภาครัฐ ในการร่วมพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจให้เติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทุกคนมุ่งสู่คลาวด์ คอมพิวติ้ง ไมโครซอฟท์ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้นำในเรื่องของความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทุกคนต่างมุ่งสู่คลาวด์ คอมพิวติ้ง  “เราไม่หยุดยั้งในการพัฒนาและดำเนินการปกป้องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของลูกค้าของเรา ลูกค้าองค์กรธุรกิจสามารถไว้วางใจได้ว่าไมโครซอฟท์ได้พยายามอย่างเต็มที่จะช่วยเหลือและปกป้องข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญของลูกค้าของเรา ส่วนผู้บริโภค พวกเขาสามารถไว้วางใจไมโครซอฟท์ได้ว่าเราจะไม่ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลหรือนำข้อมูลไปใช้ในเชิงพาณิชย์  โปรแกรมความน่าเชื่อถือในการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือ The Trustworthy initiative ที่ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2545 ยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจของไมโครซอฟท์ ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักการได้ระบุไว้ในเว็บไซต์ Trust Center ซึ่งทุกคนสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้” นายฮาเรซ อธิบายเพิ่มเติม